การเพาะกายทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง?

การเพาะกายทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง?

      เป้าหมายของการออกกำลังกายทุกประเภท คือ ร่างกายที่มีสุขภาพสมบูรณ์ การฝึกเพาะกายทำให้มนุษย์ก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่นใดทั้งสิ้นในโลก

      ความจริงก็คือ ยังมีการฝึกด้วยน้ำหนักอีกถึงสามรูปแบบอันได้แก่ Circuit Training , Pha Training และ Quality Training ที่ทำให้หัวใจมีความแข็งแรงมากในขณะเดียวกันก็ยังช่วยสร้างพละกำลังและปรับปรุงรูปร่างให้สง่างามได้อีกด้วย ส่วนการออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั้นสามารถเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดและลดไขมันในร่างกายได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถสร้างทรวดทรงให้สง่างาม และสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เลย

       Circuit Training คือ การออกกำลังระหว่าง Strength Training Exercise ผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบ Aerobic Exercise ซึ่งการออกกำลังกายแบบ Circuit Training จะทำให้คุณได้ใช้ทุกสัดส่วนของร่างกาย เรียกได้ว่าครบวงจร ทั้งได้ฝึกความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน ที่สำคัญยังกระตุ้นการทำการของหัวใจ และระบบการไหลเวียนของเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
       การออกกำลังแบบ Circuit Training  จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความฟิตให้กับร่างกาย โดยที่ฟิตเนส เฟิรส์ท มีคลาสประเภท Circuit Training ให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คลาส Muay Fight Pro by Buakaw หรือ Freestyle Group Training เป็นต้น

      Peripheral Heart Action Training (ต่อไปผมขอเรียกย่อว่า PHA นะครับ) มันคืออะไร? มันคือ Weight Training แบบ "Whole-body circuit" (การเทรนมัดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายแบบต่อเนื่องเป็นวงจร) โดยจะเริ่มจากการเทรนส่วน Upper body แล้วสลับไปเทรน Lower body แล้วก็ต่อด้วยการเทรน Upper body และตามด้วย Lower body เป็นวงจร/รอบไปเรื่อย พูดให้ง่าย PHA คือการเทรน Upper-->Lower-->Upper-->Lower-->Upper-->…. สลับไปเรื่อยๆแล้ววนลูปใหม่นั่นเองครับ   เช่น Lat pull down(Upper)-->Barbell Squat (Lower)-->Bench press (Upper) -->Deadlift(Lower)-->แล้ววนกลับไปที่ Lat pull down เป็นต้น

      Quality Training วอลิตี เทรนนิง เป็นยุทธวิธีการฝึก ที่ใช้ควบคู่ไปกับ โปรแกรมการจำกัดอาหาร ในช่วงเตรียมตัวแข่งขัน โดยปกติการเพิ่มความเข้มข้นของการฝึกมีวิธีการ 3 แนวทางคือ

  1. เพิ่มจำนวนครั้ง จำนวนเซ็ต
  2. เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์
  3. คงจำนวนครั้ง จำนวนเซ็ต และน้ำหนักของอุปกรณ์ฝึกไว้เท่าเดิม แต่ใช้เวลาพักระหว่างเซ็ตน้อยลง

      แนวทางสุดท้ายที่กล่าวถึงข้างต้น คือ หลักการของ Quality Training ซึ่งทำให้การฝึกมีความเข้มข้นขึ้น เพราะใช้เวลาพักระหว่างเซ็ตน้อยลง โดยเฉพาะเป็นการฝึก ในช่วงที่ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างจำกัด นักเพาะกายระดับแชมป์ทุกคน ต่างก็ผ่านการฝึกที่สุดเคี่ยวนี้มาแล้ว นอกจากการจำกัดอาหาร และการจำกัดช่วงเวลาพักระหว่างเซ็ตแล้ว ผู้ฝึกควรลดน้ำหนัก ของอุปกรณ์ฝึกลงจากเดิมสัก 20% - 25% หรือมากกว่านี้ ไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดลงไปอย่างแน่นอน ว่าจะต้องพักระหว่างเซ็ต ให้น้อยลงเหลือกี่วินาที เมื่อฝึกอย่างนี้ทอม เทอร์วลเจอร์ (Ton Terwillger) นักเพาะกายระดับแชมป์คนหนึ่ง พักระหว่างเซ็ตประมาณ 60-90 วินาที แต่ถ้าเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กล้ามหลัง และต้นขา เขาจะใช้เวลาพักนานกว่านี้ เมื่อถึงช่วงเตรียมตัวแข่งขันประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก่อนการแข่งขัน เขาจะพักระหว่างเซ็ต ประมาณ 30-45 วินาที