Squat บทที่ 3 : เทคนิค

Squat บทที่ 3 : เทคนิค

      Technical : เทคนิคสำหรับ Squat มีเทคนิคหลายๆอย่าง และให้เริ่มต้นจาก "ท่ายืน"
      ท่ายืนถ้ายังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน ผมแนะนำให้ยืนกว้างไว้ก่อนครับ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันเหมาะกะทุกคนนะ มันมีหลายๆปัจจัย ทั้งทางสรีระ อาการบาดเจ็บ หรือเป้าหมายการฝึกนี่คือตัวอย่างเกณฑ์ง่ายๆอิงจากเว็บ T-nation (เจ้าเก่า) - ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับหัวไหล่ ให้จับบาร์ค่อนข้างกว้างหน่อย

  • คนประเภทหลังสั้น เลือกยืนความกว้างปานกลาง(Medium stance) หรือกว้าง (Wide stance)
  • คนประเภทลำตัวยาว เลือกยืนความกว้างปานกลาง(Medium stance)
  • คนประเภทลำตัวยาว ขายาว เลือกยืนความกว้างปานกลาง (Medium stance)
  • คนประเภทขายาว หลังสั้น ยินดีด้วยครับ อยากยืนแบบไหนก็ได้
  • หากใช้อุปกรณ์ (เค้าน่าจะหมายถึงเข็มขัด) ควรจะเลือกยืนกว้าง (Wide stance) เพื่อ support สะโพกครับ

      Wide Stance = กว้างกว่าช่วงหัวไหล่
      Medium Stance = พอๆกับช่วงความกว้างหัวไหล่ ความกว้างของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน สามารถปรับให้เหมาะสมได้ตามสรีระ

      ในความคิดของผม ผมชอบที่จะยืน Wide stance มากกว่าอย่างอื่น (ตาลุงคนเขียน Dave Tate ก็ชอบเหมือนกัน) เพราะมันง่ายต่อการทรงตัว สามารถย่อลงลึกๆแบบ Deep ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ การยืนแบบ Wide stance จะใช้กล้ามเนื้อต้นขาทั้งหมดได้ทำงาน (ทั้ง Quadriceps และ Hamstrings) ซึ่งดีมากๆต่อการเพิ่มกล้ามมวลรวมของต้นขาครับ

      แล้วแบบไหนคือ Squat ที่ดี ?

  • "แน่น" เกร็งทุกส่วน ตั้งแต่หัวจรดเท้า
  • หลังต้องไม่โก่ง การ "แอ่นหลัง" ให้ได้ตามสรีระของกระดูก เป็นพื้นฐานหลักสุดที่ต้องรู้ครับ
  • เมื่อแอ่นหลังเป็น จากนั้นเราแอ่นสะโพกออกมา ใช้สะโพกเป็นเหมือนบานพับ (hip hinge เหมือนกับตอนทำ Deadlift)
  • ข้อศอกต้องอยู่ใต้บาร์ แนวระดับเท่ากัน หรือใกล้เคียง - จับบาร์ให้แคบพอที่จะไม่ให้หัวไหล่และไบเซปได้ใช้งาน และง่ายต่อการบีบสะบักให้ค้างไว้จนจบ set ครับ
  • เกร็งและบีบ "สะบัก" ในหลังส่วนบน
  • เรียนรู้การสูดลมหายใจเข้าช่องท้อง เพื่อรักษาระดับการเชิดหน้าอกไว้ ไม่งั้นหน้าทิ่ม ปวดหลังอีก
  • พยายามอย่าให้หัวเข่า ทิ่มเกินไปจนเลยปลายเท้า อันตรายครับ ผมมักจะบอกให้ผู้ฝึกเน้นจับจุดไปที่ "การหย่อนสะโพก" ไม่ใช่งอเข่า เพราะคนส่วนใหญ่มักจะทิ่มเข่าลงเหมือนการ ลุก-นั่ง ในศูนย์ฝึก รด. ยังงั้นแหละ

      ที่กล่าวมา มันเป็นวิธีพื้นฐานที่ทำกันมานาน วิธีเช็คง่ายๆ คุณลองไปยืน Squat ในมุมด้านข้างกระจก ในขณะที่ Squat นั้น Barbell ควรจะขึ้น-ลง เป็นแนวเส้นตรงพอดี ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรยืนแบบไหน ก็สามารถเช็คท่ายืนได้จากการทำแบบนี้เหมือนกันครับ (ขึ้น-ลง ตรงๆนะ อย่าลืม)
      สำหรับการ Squat ปกติ การเปลี่ยนจากการยืนแคบๆ มาเป็น Wide stance นั้นบางครั้งก็ต้องใช้เวลา จากประสบการณ์การสอนของผม ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถ ยืนกว้างๆ หรือเล่น Deep Squat กันได้ทุกคน ต้องหมั่นฝึกความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้ออยู่บ่อยๆครับ
      ทุกเทคนิคที่กล่าวมา ควรจะทำให้ติดเป็นนิสัย ทุกเทคนิคสามารถฝึกให้คล่องโดยไม่ยากนัก แต่หากเผลอเมื่อไหร่นั่นหมายถึงอาการบาดเจ็บที่จะตามมาสิ่งที่ผมพบบ่อยๆคือคนส่วนใหญ่มักจะเอนหลังไปด้านหน้า ลืมการเชิดอก โก่งหลัง และหัวเข่าเลยปลายเท้าไปซะทุกที นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก หรือเอ็นหัวเข่าฉีก และอื่นๆอีกมากมายและเมื่อคุณฝึกได้ซักระยะหนึ่งแล้ว คุณอาจจะลองฝึก Squat ด้วยการยืนหลายๆแบบ เช่น Standard Squat(Olympic Squat) หรือการยืนระดับปกติ หาดูได้ตามพวกแข่งยกน้ำหนักครับ เพื่อที่จะคุมและจับฟีลกล้ามเนื้อ Quadriceps ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง หรือจะเป็นการยืนที่มากกว่า Wide Stance หรือกว้างมากๆ อย่าง Sumo Squat ถ้าหากคุณมีปัญหาที่ต้นขาด้านใน 

จบ Pt.III ครับ แน่นอนว่ายังมีต่อ อ่านกันจนตาแฉะกันเลยทีนี้