กระบวนการผลิต Whey protein

กระบวนการผลิต Whey protein

      1. Raw whey หรือ เวย์โปรตีนดิบ เป็นเวย์โปรตีนที่ได้จากการผลิตเนยแข็ง มีโปรตีนประมาณ 10-12% น้ำตาลแลคโตสประมาณ 80% ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในอดีตมีผู้ค้าเวย์โปรตีน(เลวๆ)บางคนนำเวย์โปรตีนชนิดนี้มาแบ่งขายซึ่งผลก็คือ คนทานท้องเสียกันถ้วนหน้า เนื่องจากสัดส่วนของแลคโตสที่สูงและร่างกายย่อยได้ไม่หมดจึงเหลือเป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์ มีผลเสียต่อร่างกาย

      2. Delactose whey หรือ เวย์โปรตีนสกัดแลคโตสได้จากการเอาเวย์โปรตีนดิบไปกรองเอาแลคโตสออกเพียงบางส่วน มีโปรตีนประมาณ 24% น้ำตาลแลคโตสประมาณ 70% ใช้เป็นส่วนผสมของนมทดแทน ในอดีตก็เคยมีบางคนเหมือนข้างบนเอามาแบ่งขาย แต่อาการท้องเสียจะไม่รุนแรงเหมือนตัวแรก

      3. Whey powder หรือ เวย์โปรตีนผงได้จากการเอาเวย์โปรตีนตัวที่2 มากรองเอาแลคโตสออก ให้มีระดับของโปรตีนสูงขึ้น มีโปรตีนตั้งแต่ 30-70% นิยมใช้เป็นส่วนผสมของไอศครีมหรือนมทดแทน ถ้าต้องการทานเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนเสริม แนะนำให้เลือกโปรตีน 70% ควรซื้อยกกระสอบมาเลย และควรส่งตรวจโปรตีนก่อน เพื่อความชัวว์

      4. Whey protein concentrate หรือ เวย์โปรตีนสกัดชนิดเข้มข้น ได้จากการเอาเวย์โปรตีนตัวที่3 มากรอง จนมีระดับของโปรตีนสูงขึ้นประมาณ 80% นิยมใช้เป็นเป็นแหล่งโปรตีนเสริมสำหรับนักกีฬา เนื่องจากมีราคาไม่แพงนัก ผงจะเป็นสีเหลืองอ่อน ตามลักษณะของรงควัตถุที่ออกมากับนม อาทิ Ultra whey pro ของ Universal nutrition เป็นต้น 

      5. Whey protein isolate หรือเวย์โปรตีนที่สกัดโปรตีนเชิงเดี่ยว ได้จากการเอา Whey protein concentrate มากรองด้วยฟิลเตอร์ที่ทำจากโพลีเมอร์ โดยฟิลเตอร์ขนาด 1 ไมโครเมตร แยกส่วนของไขมัน (รงควัตถุสีเหลืองจะถูกกรองออกในขั้นตอนนี้) และฟิลเตอร์ขนาดเพียง 1 ใน 4 ของตัวแรก กรองส่วนของน้ำตาลแลคโตส วิธีนี้เรียกว่า Micro-filtration/Ultra-filtration เวย์โปรตีนที่ได้จะมีสีขาว โปรตีนประมาณ 90% แต่เนื่องจากตัวกรองทำจากโพลีเมอร์ ซึ่งก็สามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา ถ้าตัวกรองเก่ามาก ก็กรองไขมัน และแลคโตสได้น้อย (ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของแบรนด์นั้นๆถึงแนะนำให้เลือกซื้อแบรนด์ที่มี ที่มาที่ไปและเชื่อถือได้) ซึ่งก็ คือ Universal Nutrition & Animal เป็นต้น เป็นแบรนด์ที่อยู่มานานและมีประวัติที่ดีมาตลอดกว่า40ปีในระดับโลก มีโรงงานและนักวิจัยเป็นของตัวเอง ไม่ใช่ OEM ทั้งหลายกว่า90%ในแบรนด์ตลาดโลกจะใช้วิธีนี้เนื่องจากลดต้นทุนได้มหาศาลแต่ก็แลกมากับการกำกับดูแล ที่ไม่ได้ใกล้ชิดเท่า ซึ่งเวย์ประเภทที่5 ก็คือ Animal whey & Ultra iso whey เป็นต้น

      Cross-flow Microfiltration ใช้หลักการเดียวกันกับวิธีที่ 5 เพียงเปลี่ยนตัวกรองเป็นเซรามิค ที่มีความทนทานกว่าหลายเท่า(ราคาแพงกว่าด้วย) แต่เปอร์เซ็นต์โปรตีนก็มีความสม่ำเสมอมากกว่า Ultra whey pro ของ Universal nutrition เป็นต้น 

      Ion-Exchange whey เป็นเวย์โปรตีนที่มีเปอร์เซนต์โปรตีนสูงถึง 97-98% ได้จากการเอา WPC ไปแยกด้วยสารละลายที่ทำหน้าที่ในการย่อยแลคโตส และไขมัน โดยใช้กระแสไฟฟ้าเป้นตัวกระตุ้น หลังจากนั้นก็กรองเอาส่วนของเวย์โปรตีนออกมาอย่างเดียว ส่วนที่เหลืออีก 2-3 เปอร์เซนต์ คือส่วนของเถ้า ซึ่งก็คือ แร่ธาตุ เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตที่ใช้ไฟฟ้าในการแยก ส่งผลให้โครงสร้างบางส่วนของกรดอะมิโนในเวย์โปรตีนถูกทำลายไปด้วย (การวิเคราะห์โปรตีน จะทำโดยการวัดไนโตรเจนในอาหาร ถ้ามีไนโตรเจนครบ แต่ C H O หายไป ค่าที่ได้ก็ยังมีโปรตีนอยู่ดี) กรดอะมิโนในเวย์โปรตีนชนิดนี้จึงเอาไปใช้ประโยชน์ได้เพียง 80-85% เท่านั้น แต่ที่ยังนิยมใช้ก็เพราะวิเคราะห์แล้วได้โปรตีนสูง จึงใช้เป็นตัวปรับระดับของโปรตีนในสูตรเวย์โปรตีน (ในแบรนด์โปรตีนเวย์ทั้งหลายกว่า90%ในท้องตลาดใช้วิธีนี้ เนื่องจากต้นทุนต่ำและมักจะนำมาแอบอ้างอัพราคาขายสูงกว่าปกติเพราะได้ตีค่าโปรตีนข้างฉลากได้สูงเพื่อแข่งกับ 4. Whey protein Concentrate & 5. Isolate & 6. Hydrolyzed whey protein 

      6. Hydrolyzed whey หรือเวย์โปรตีนที่ผ่านการย่อยแล้วได้จากการเอา WPC หรือ WPI (ส่วนมากใช้ WPI) มาย่อยด้วยเอนไซม์โปรตีเอส (Protease-น้ำย่อยที่ทำหน้าที่ในการย่อยโปรตีน) จนทำให้ช่วงของกรดอะมิโนในเวย์โปรตีนเหลือสั้นลง ซึ่งความสั้นมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของเอนไซม์ที่ใช้ (ใช้มากก็ย่อยได้มาก) เป็นเวย์โปรตีนที่ย่อยได้สูงสุด ไวสุด ดูดซึมได้ดีที่สุด และยังราคาแพงที่สุดด้วย ซึ่งก็ คือ Animal whey เป็นต้น

      ปล.เนื่องมาจากเวย์โปรตีนมีโปรตีนหลักที่ชื่อว่า Beta-lactoglobulin ซึ่งเป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิแพ้ จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับคนกลุ่มนี้ด้วย