CNS มันเกี่ยวข้องยังไงกับ Strength Training

CNS มันเกี่ยวข้องยังไงกับ Strength Training

       สิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการฝึก นั่นคือระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System = CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ข้อมูลเชิงลึกเรื่องนี้กรุณาไปหาอ่านเอาเอง เพราะเราจะมุ่งไปที่คำถามว่า เมื่อเราเริ่มฝึกความแข็งแรง หรือ Strength Training จะทำให้เกิดระดับของความเหนื่อยล้า และความเหนื่อยล้าที่เกิดนั้นขึ้นมีอยู่ 2 ระดับ 
       ระดับแรก คือ ความเหนื่อยล้าทั่วไปบนมัดกล้ามเนื้อ 
       ระดับที่สอง คือ ความเหนื่อยล้าที่เกิดอยู่ภายใน

       CNS เมื่อเราฝึกแรงต้านหรือใช้กล้ามเนื้อจะเกิดกระแสไฟฟ้าจากระบบประสาทไปสู่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง(Contraction) และหากเกิดการใช้งานที่มากเกินไป CNS ก็จะเข้าสู่ภาวะอาการเหนื่อยล้าหรือ ก็คือ การส่งสัญญาณไฟฟ้านั้นอ่อนลง ....วิธีตอบสนองตามธรรมชาติ เพื่อให้ระบบประสาทกลับมาเป็นปกติ ทางเดียว คือ การพักครับจะเป็นยังไงล่ะหากไม่พัก? ร่างกายจะแสดงออกถึงอาการที่เกี่ยวกับการล้าของ CNS เช่น การขาดแรงจูงใจ ไม่มีอารมณ์ที่จะฝึก เฉื่อยชา สมรรถภาพในการออกแรงลดน้อยลง เป็นต้น......

       ถ้าคุณกำลังเกิดอาการเหล่านี้ นั่นหมายความว่า คุณกำลังฝึกหนักกว่าที่คุณคิดและร่างกายของคุณกำลังใฝ่หาการพักผ่อนที่เหมาะสม (ไปหา fish oil กะ Glutamine กินด้วยนะ) คุณจะเห็นได้ว่า ตารางฝึกของนักเพาะกายหรือยกน้ำหนักระดับโปรนั้น บางตารางมีจำนวนเซ็ตและท่าฝึกที่ดูน้อยจนน่าตกใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเค้าต้องการควบคุมระดับความเข้มข้นให้เหมาะกับร่างกายนั่นเองข้อผิดพลาดของคนทั่วไป คือ ฝึกเยอะเกินไปทั้งจำนวนท่า จำนวนเซ็ต เวลาพัก นี่ยังไม่รวมเทคนิคแพรวพราวต่างๆที่สรรหากันมาใช้ จับกันมายำมั่วเละเทะไปหมด เพราะอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่า "ฉันต้องฝึกให้หนักที่สุด" ติดอยู่กับคำว่า ยิ่งหนักมาก ยิ่งแข็งแรงและได้กล้ามเนื้อมาก แต่หารู้ไม่ว่านี่มันเป็นกับดัก...เพราะความจริงนั้นเราใช้ตรรกะเดียวกับการเพิ่มกล้ามเนื้อครับ หากคุณจัดวางความถี่และความเข้มข้นของการฝึกให้สมดุล ไม่ให้น้อยหรือมากเกินไป ให้เวลาพักเซ็ตสอดคล้องกับเป้าหมายในการฝึก มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอในทุกๆสัปดาห์ คุณก็จะสามารถฝึก CNS ให้ตอบสนองได้เร็วและแข็งแรงขึ้นไปพร้อมกัน....แปบๆก็ได้เวลาใส่แผ่นเหล็กเพิ่มในท่า Bench press อีกแล้ว และแบบไหนที่เรียกว่าพอดี ? ...น่าเสียดายที่มันเอาแน่เอานอนไม่ได้เลย อย่างจำนวนเซ็ตก็แกว่งอยู่ตั้งแต่ 9-20 เซ็ตนู่นแหนะ แถมทฤษฎีการฝึกใหม่ๆก็ผุดขึ้นมาเยอะมากเต็มไปหมดเรื่องนี้มันค่อนข้างเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล ความเหมาะสมของแต่ละคนมันแตกต่างกันไปแต่เท่าที่ผมทำได้ คือ การแนะนำตารางฝึกที่มีคุณภาพให้และที่เหลือคือการปรับให้เหมาะสมกับตัวเราเองครับ